สวัสดีค่า !! วันนี้ก็จะมาแนะนำแนวทางของคนที่ชื่นชอบในเสื้อผ้าและสนุกกับการแต่งตัวหรือคนที่ใฝ่ฝันอยากจะเป็น ดีไซน์เนอร์ (Designer)” มีความคิดและสไตล์เป็นของตัวเอง ไอเดียต่างๆของเรา เราสามารถนำมาใช้ในการเรียนสาขานี้ได้ นั่นก็คือ
"คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบเครื่องแต่งกาย"

คนแบบไหนกันน่า....ถึงจะเหมาะกับสิ่งนี้ ?

          ก่อนอื่นต้องถามตัวเองก่อนว่า มีทักษะทางด้านศิลปะแค่ไหน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือเปล่า แต่จริงๆแล้วถ้าเรามีความชอบด้วย ก็จะยิ่งทำให้เราอยากที่จะเรียนและตั้งใจกับสิ่งนี้ ถ้าคำตอบ คือ มีพร้อมก็ลุยเลยยย แต่อาจจะต้องเป็นคนที่ทันโลกทันสมัย 
หาความรู้ให้ตัวเองตลอดเวลา ว่าเทรนด์มันเป็นยังไงบ้างแล้ว โลกมันไปถึงไหนแล้ว ตอนนี้ดีไซน์อะไรกำลังมาแรงแล้วก็ต้องเป็นคน
ช่างสังเกตใส่ใจรายละเอียดด้วยค่ะ
           ในปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีหลากหลายสถาบันที่เปิดสอนทางด้านแฟชั่นมากมายในประเทศไทย ต่างมหาลัยก็ล้วนแล้วแต่มีหลักสูตรการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไป
           หนึ่งในนั้นที่ทุกคนต้องคุ้นหู คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา สถาบันอันทรงเกียรติและเลื่องชื่อ เปิดสอนในคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย ที่นี่เปิดการเรียนการสอนหลักสูตร 3 ปี ครึ่ง ก็จบแล้วไม่รวมชั่วโมงฝึกงานจ้า

โลโก้คณะและโลโก้สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย


คณะศิลปกรรมศาสตร์

          เมื่อเราก้าวเท้าเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้แล้ว สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีพื้นฐาน ทางสาขาจะมีอาจารย์เก่งๆคอยให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการเรียนการสอนให้ทั้งหมด ไม่ต้องเป็นห่วงเลย

สามารถเข้าไปดูข้อมูลหลักสูตรต่างๆได้ที่เว็ปนี้เลยจ้า



อาจารย์ในสาขาปัจจุบันจะมีอยู่ทั้งหมด 6 คน ทุกคนใจดีและให้คำปรึกษาดีมาก

รศ.ดร.จารุพรรณ  ทรัพย์ปรุง / อ.สิรัชชา สำลีทอง / อ.ชนกนาถ มะยูโซ๊ะ
อ.เตชิต  เฉยพ่วง / อ.สุวิธธ์ สาดสังข์ / อ.จรรจิรา โมน่า


สาขานี้ไม่ได้มาวาดรูปอย่างเดียวนะ ?

          วิชาการออกแบบไม่ใช่วิชาที่จะมานั่งออกแบบ Drawing อย่างเดียวแน่นอน  บางคนอาจมองว่าการออกแบบเครื่องแต่งกายเป็นแค่
การวาดชุดหรือสเก็ตคอม แต่จริง ๆ แล้ว งานต้องครอบคลุมถึงการให้ลงรายละเอียดเรื่อง Inspiration / Target Group / Lifestyle / Taste of housing / Activity / Silhouette / Detail / Material / Technique / Color รวมถึงการคำนวณงบประมาณกับความเป็นไปได้จริงของการทำชุดจริงด้วย และอื่นๆอีกมากมาย

Inspiration คือ แรงบันดาลใจในการออกแบบผลงาน
THANAKORN SIMMANEE

BENJMAPORN KAEONAMARNG

Target Group คือ การเจาะตลาดกลุ่มลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายของการทำชุด

WIJITTRA BOOBLERD


SURAWEE ORAONDEE

Lifestyle คือ วิถีการดำเนินชีวิตของผู้สวมใส่


THANAKORN SIMMANEE

Taste of housing คือ ที่อยู่อาศัยของกลุ่มเป้าหมาย

BENJMAPORN KAEONAMARNG

Activity คือ กิจกรรมต่างๆที่กลุ่มเป้าหมายของเราทำ
TISAKORN KUNCHORNNOK

Silhouette คือ โครงสร้างเงาของชุด ออกมาในรูปแบบไหน

SURAWEE ORAONDEE

Detail คือ รายละเอียดต่างๆของชุด

WIJITTRA BOOBLERD

Technique คือ เทคนิคที่เราจะทำลงบนชุดให้เกิดความแปลกใหม่

SURAWEE ORAONDEE

Color คือ สีที่เราจะใช้ในการทำชุด

SORNSAK AUTTARO



          เสน่ห์ของการเรียนในวิชานี้ไม่ได้อยู่ที่แค่ในตำรา หรือในชั้นเรียน เราสามารถเรียนรู้ได้จากทุกมุมโลก ปัจจุบัน โลกไร้พรหมแดน 
ทุกอย่างเชื่อมโยงถึงกัน งานศิลปะและดีไซน์มีสิ่งที่น่าตื่นเต้น น่าค้นหา และน่าที่จะเรียนรู้อีกมากมาย คนที่จะเรียนด้านนี้อยู่นิ่งไม่ได้ แม้เราจะมีสไตล์เป็นของตัวเอง แต่ก็ไม่ควรย่ำอยู่กับที่กับความคิดเดิมๆ


แฟชั่นสวนสุนันทาแตกต่างจากมหาลัยอื่นอย่างไร ?

          หลายคนคงเคยได้ยินแฟชั่นสวนสุนันทามีเทคนิคและดีเทลที่แปลกตาไม่เหมือนมหาวิทยาลัยอื่น คำตอบคือ ใช่แล้ววว !! 
นี่คือจุดเด่นของมหาวิทยาลัยแห่งนี้
          ในชั้นปีที่ 2 เทอมที่ 1 เราจะได้เรียนในวิชาวัสดุและเทคนิคทางการออกแบบแฟชั่น หรือที่ทุกคนต่างกล่าวขานกันในชื่อของวิชา 
ดอกดีเทล” 


Facebook : FAD13 SSRU

          
          สิ่งที่ทุกคนต้องทำคือการหาลวดลายดีเทลจากงานต่างๆมาดัดแปลงสร้างเป็นก้อนดอกดีเทลประดับชุดสร้างความเป็นเรื่องราวและแรงบันดาลใจในการออกแบบ เป็นการฝึกฝนทักษะการทำงานใหม่ๆให้ไม่เหมือนใครและแตกต่างมหาวิทยาลัยอื่นๆนั่นเอง



THANAKORN SIMMANEE

TISAKORN KUNCHORNNOK


SURAWEE ORAONDEE

SORNSAK AUTTARO



WIJITTRA BOOBLERD


BENJMAPORN KAEONAMARNG

SIVAPOT PHOOJOMDAW


          นี่แค่ส่วนหนึ่งของผลงานวิชาวัสดุและเทคนิคทางการออกแบบแฟชั่นนะ อยากดูชุดอื่นๆ
คลิกที่นี่เลย 👉 https://web.facebook.com/FAD13ssru


          มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทากวาดรางวัลมามากมายหลายเวที โดยเฉพาะเวทีใหญ่ๆอย่าง Saha Group Young Designer 
ก็คว้ารางวัลใหญ่มาถึง 2 ครั้งในปี 2015 และ 2017 ทุกชุดล้วนแล้วแต่มีเทคนิคที่แปลกใหม่ แปลกตา ไม่เหมือนใคร ทำให้ถูกใจคณะกรรมการ

Saha Group Bangkok Young Designer Awards 2015

Saha Group Bangkok Young Designer Awards 2017

          ก่อนการเรียนจบการศึกษาทุกคนจะมีการทำธีสิส (Thesis) หนึ่งในหัวข้อที่นักศึกษาทุกคนต้องนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา คือ การทำเทคนิคที่มีความแปลกใหม่สร้างดีเทลที่แปลกตาในการทำลงบนชุด หรือมีการออกแบบลวดลายให้มีความสวยงามตามแรงบัลดาลใจของงาน

          รวมไปถึงการเลือกวัสดุที่ใช้ในการทำเทคนิค ทำเทคนิคยังไงให้ดูไม่ธรรมดา  ทำยังไงให้ดูมีมิติ เพื่อทำให้ชุดมีความเพอร์เฟคสมบูรณ์แบบที่สุดในวันที่จัด fashion show

ใครกลัวว่าจะเรียนยาก ฟังทางนี้เลยจ้า....

       คือถ้าน้องๆเป็นคนที่มีใจรักศิลปะ รักสวยรักงาม มีเทสต์ในการเลือกของใช้ส่วนตัว ช่างสังเกต ชอบขีดๆเขียนๆ วาดรูปเล่น ชอบคิดอะไรใหม่ๆ ชอบคอมฯ ชอบงานออกแบบ หรืออ่านหนังสือ Vogue / Bazaarr / Numero นั่นแหละ น้องเรียนได้แน่ๆ 
          การเรียนที่ว่ายากไม่ยากขึ้นอยู่กับผู้เรียน สาขาวิชาสายอาชีพแบบนี้ไม่ค่อยมีการสอบ มีแต่การทำงานส่ง ผลงาน ไอเดีย และความขยันจะเป็นตัววัดว่าเราจะเรียนรอดรึเปล่า

เรียนจบแล้วจะมีงานทำไหมอะแม่ !! ทำงานอะไรได้บ้าง ?

          ไม่ต้องเป็นห่วงเลยวันนี้เราจะมี 5 ขั้นตอนง่าย ๆ สู่การเป็นนักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นมืออาชีพมาบอกค่ะ

          นักออกแบบเป็นกลุ่มอาชีพที่หลายคนคิดว่าเป็นได้ยาก หลายคนคิดว่าทำไม่ได้แน่นอน ต้องเป็นคนที่เกิดมาพร้อมกับพรสวรรค์เท่านั้นที่สามารถทำได้ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย
          ความเป็นจริงใคร ๆ ก็สามารถเป็นนักออกแบบได้ ทุกคนมีพรสวรรค์ที่ติดตัวตั้งแต่เกิด เพียงแต่เราอาจจะยังไม่ค้นพบวิธีการนำพรสวรรค์เหล่านั้นมาใช้ให้ถูกวิธีเท่านั้นเอง

          บางคนค้นพบตัวเองว่าอยากให้โลกนี้มีสินค้าที่เราออกแบบเองตั้งแต่ยังเด็ก ยังเรียนอยู่ระดับชั้นมัธยม บางคนค้นพบว่าตัวเองอยากเป็นนักออกแบบเมื่อเรียนจบปริญญาตรี ในขณะที่บางคนค้นพบว่าอยากเป็นนักออกแบบในวัยทำงาน เราต่างมีช่วงเวลาและเหตุผลในการเป็นนักออกแบบที่ต่างกัน

ความคิดริเริ่มคือสิ่งที่นักออกแบบต้องมี

          ไม่ว่าคุณจะอยากเป็น นักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่น นักออกแบบตกแต่งภายใน หรือนักออกแบบผลิตภัณฑ์ บุคลิกของนักออกแบบในแต่ละสายอาชีพอาจจะแตกต่างกัน แต่สิ่งหนึ่งที่นักออกแบบทุกคนมีเหมือนกันทุกสายอาชีพการออกแบบ คือ ความคิดสร้างสรรค์ หรือที่เราเรียกว่า ความเพ้อเจ้อความคิดเพ้อเจ้อนี่แหละ เป็นองค์ประกอบสำคัญในการเป็นนักออกแบบ
         เราต้องกล้าที่จะมีความคิดสร้างสรรค์ คิดในสิ่งที่ยังไม่มีใครคิด ทำในสิ่งที่ยังไม่มีใครทำ ให้ออกมาแปลกใหม่และใช้ได้จริงให้ได้มากที่สุด ยิ่งในยุคปัจจุบัน การคิดและ เริ่มทำ ในสิ่งที่ยังไม่มีใครทำเป็นเจ้าแรก ๆ จะได้เปรียบมาก เราจะกลายเป็นผู้นำแฟชั่นในทันที
       เชื่อว่าหลาย ๆ คนเคยมีไอเดียอยากทำเสื้อผ้าแฟชั่น ดีไซน์ของเราเอง มีคอลเลคชั่นเสื้อผ้าที่เราเองเป็นคนออกแบบ ไม่เหมือนใคร ไม่ซ้ำใคร ได้เลือกเนื้อผ้าที่เราชอบ ดีไซน์ที่เราชอบ และอยากให้คนอื่นได้ลองสวมใส่เสื้อผ้าของเรา
      แต่หลายครั้งที่เราถอดใจและคิดว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะเราคิดไปเองว่า กว่าจะทำเสื้อออกมาได้แต่ละตัวยากมากอย่างกับเข็นครกขึ้นภูเขาเลยทีเดียว เราทำได้แค่คิด แล้วปล่อยมันผ่านเลยไป ซึ่งจริง ๆ แล้ว ขั้นตอนในการทำเสื้อผ้าแฟชั่นดีไซน์ของเราเอง มีเพียง 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้เลย


1. การออกแบบและสเก็ตช์ภาพ


WIJITTRA BOOBLERD

SORNSAK AUTTARO

SIVAPOT PHOOJOMDAW

          เราสามารถนำแรงบันดาลใจจากสิ่งต่าง ๆ ที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันมาออกแบบเป็นเสื้อผ้าแฟชั่นสไตล์ตัวเอง สิ่งสำคัญของการออกแบบคือการวาดหรือสเก็ตช์ภาพออกมาเพื่อเป็นต้นแบบของการทำเสื้อผ้า เนื่องจากภาพสเก็ตช์นี้เองจะเป็นตัวบอกถึงลำดับขั้นในการทำต่อไป
ในปัจจุบันมีการสเก็ตด้วยคอมพิวเตอร์แล้วนะจ้ะ
           เมื่อวาดแบบเสร็จแล้วขั้นตอนถัดไปคือการลงสี หรือเลือกสี ซึ่ง Fashion Design แต่ละคนมีรูปแบบและการทำงานที่แตกต่างกันไป แต่เป็นคอนเซ็ปต์คือการทำให้จินตนาการเห็นภาพมากขึ้นก่อนที่จะผลิตเสื้อผ้าออกมาจริง

2. การทำแพทเทิร์น

   

ปัจจุบันวิธีการทำแพทเทิร์นจะแบ่งออกเป็น วิธีหลัก
          วิธีที่ 1 : วาดแบบแพทเทิร์นลงในกระดาษทำแพทเทิร์น วิธีนี้เหมาะสำหรับนักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นที่ชำนาญแล้ว สามารถวัด และกำหนดขนาดของ องค์ประกอบแต่ละส่วนของเสื้อได้
          วิธีที่ 2 : ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการออกแบบแพทเทิร์นเสื้อผ้า วิธีนี้เหมาะสำหรับนักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นมือใหม่ที่ยังไม่ชำนาญ เรื่องขนาดขององค์ประกอบแต่ละส่วนของเสื้อ นักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นมือใหม่สามารถทำแพทเทอร์นเสื้อผ้าได้ด้วยตัวเอง โดยใช้ 5 โปรแกรมยอดนิยมที่ใช้ในการการออกแบบแพทเทิร์นเสื้อผ้า อาทิ เช่น CAD Pattern Design, Poly Pattern Design, Fashion Design Software, TexPro Design CAD System Textile หรือ Lectra Modaris Pattern

3. การทดลองสวมใส่จริง (FITTING)


          หากเราเคยตัดเสื้อผ้าในห้องเสื้อที่มีมาตรฐาน คงจะพอจำกันได้ว่า หลังจากการวัดตัวครั้งแรกไปซักระยะหนึ่ง ทางร้านจะให้เข้าไปที่ร้านเพื่อทำการลองชุด ซึ่งชุดที่ให้ลองในครั้งแรกนี้จะเป็นชุดที่เย็บแบบชั่วคราว เพื่อให้ช่างตัดเสื้อได้ดูผลงานแบบคร่าว ๆ และแก้ไขจุดที่ผิดพลาดได้ทันท่วงทีหลังจากการวัดไซส์ในครั้งแรก เนื่องจากถ้าหากตัดเย็บจริงไปแล้ว เกิดความผิดพลาดขึ้น อาจจะต้องเริ่มต้นใหม่หมดขั้นตอน ทำให้ขั้นตอน Fitting นี้ขึ้น

4. การตัดเย็บและผลิต

 
     
          เมื่อเราออกแบบและทำแพทเทิร์นเรียบร้อยแล้ว เราก็เริ่มขั้นตอนที่ นั่นคือ ขั้นตอนการผลิต การผลิตเสื้อผ้าแฟชั่น นักออกแบบสามารถตัดเย็บและผลิตได้ด้วยตัวเอง ซึ่งต้องใช้ความเชียวชาญ และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างมากเนื่องจากการผลิตชิ้นงานจริงไม่ได้เป็นงานที่ Routine

5. อัพเดทแฟชั่นและฝึกฝน

          นักออกแบบเสื้อผ้าต้องคอย อัพเดทแฟชั่นเสมอ เมื่อเราจบขั้นตอนที่ ก็ย้อนกลับไปขั้นตอนที่ ทำอย่างนี้วนไปเรื่อย ๆ เสื้อผ้าที่เราออกแบบจะได้อินเทรนด์ ไม่เอาท์ สามารถใช้ได้ทุกโอกาส และการทำซ้ำบ่อย ๆ นี่เองก็เป็นการฝึกฝนทำให้มีความเชียวชาญและประสบการณ์ที่มากขึ้น
          นักออกแบบที่ดีไม่ว่าจะเป็นนักออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่น นักออกแบบตกแต่งภายใน  หรือนักออกแบบผลิตภัณฑ์ ต้องเรียนรู้จากผู้บริโภค พร้อมทั้งพัฒนาการออกแบบให้ผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากการออกแบบให้ได้มากที่สุด

ขอบคุณบทความดีดีจาก 👉https://www.designil.com/5-step-fashion-designer.html
อัพเดทเว็ปไซต์แฟชั่นได้ที่นี่ 👉 https://www.designil.com/5-inspiration-website-designer.html


ตามติดชีวิตเด็กแฟชั่นดีไซน์

ศิวพจน์ ภูจอมดาว นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ 
สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

เริ่มมีความสนใจในเรื่องแฟชั่นตั้งแต่เมื่อไร?

          ตอนแรกไม่มีความสนใจในด้านนี้เลย คิดว่าตัวเองอยากเรียนนิเทศศาสตร์ เพราะเป็นคนที่ชอบ ในด้านการแสดง แต่พอมาเรียนมัธยมปีที่หกเพื่อนก็เริ่มทักว่าทำไมถึงไม่เรียน Fashion design เราเลยเริ่มรู้ตัวเองว่าเป็นคนชอบ ใน Fashion มากๆ จากนั้นก็เริ่มศึกษา เริ่มฝึกออกแบบด้วยตัวเอง จนมันเกิดเป็นคำว่า passion

ทำไมถึงเลือกเรียน Fashion Design ที่ สวนสุนันทา

          เรารู้ตัวช้าว่าอยากเรียนแฟชั่นก็เลยเหลือที่สอบที่เราสมัครทันแค่สองที่ คือ จุฬาฯ และ สวนสุนันทา เราลงทั้งสองแต่ว่าไม่ติดจุฬาฯเราเลยมาสอบที่สวนสุนันทา แล้วติดเราเลยเรียนเลย เพราะคิดว่าที่ไหนคงไม่สำคัญ น่าจะอยู่ที่ตัวเรา ถ้าเราตั้งใจ ขยัน เราก็ประสบความสำเร็จได้ ขอแค่ให้เราเดินในเส้นทางในสิ่งที่เราชอบ

การเตรียมตัวก่อนสอบเข้าและการเตรียมสอบวิชาความถนัด

          ทำการบ้านเกี่ยวกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย ศึกษาข้อมูลและฝึกวาดรูปออกแบบชุด จาก youtube

เล่าถึงผลงานที่ประทับใจประทับใจผลงานของตัวเอง

          ทุกชิ้น เพราะเราทุ่มเทและตั้งใจในทุกๆผลงาน ทำเต็มที่แล้วจะเกิดพัฒนาการในตัวเอง

ขั้นตอนในการออกแบบ

          หาแรงบันดาลใจจากสิ่งที่เราชอบ หรือสิ่งที่เราอยากทำ มันจะส่งผลในกระบวนการคิดของเราออกมาดีและเป็นตัวตนของตัวเอง

ความท้าทายของการเรียนแฟชั่นดีไซน์

          ท้าทายขึ้นทุกๆปี เพราะการเรียนการสอนของอาจารย์ที่นี่เข้มข้นขึ้นในทุกๆเทอม แต่ก็เป็นสิ่งที่ทำให้เราได้พัฒนาตัวเอง

คุณสมบัติของคนที่เหมาะจะเรียนแฟชั่นดีไซน์

          คุณสมบัติก็คือคนที่รักและหลงไหลในแฟชั่น มันจะส่งผลให้เราขยัน ให้เราตั้งใจศึกษา หาแนวคิดอะไรใหม่ๆ

ความใฝ่ฝันหลังเรียนจบ

          อยากมีแบรนด์เสื้อผ้าเป็นของตัวเอง อยากให้คนที่มีชื่อเสียงหรือว่าคนทั่วไปเห็นแล้วอยากใส่เสื้อผ้าของเรา

สุดท้ายนี้อยากฝากอะไรให้กับคนที่สนใจหรือคนที่อยากจะเรียน Fashion Design บ้าง

          เชื่อในความรัก เชื่อในความหลงไหล และอย่าหยุดพัฒนาตัวเอง ในเมื่อเรารู้ในสิ่งที่เราชอบ เราทำมันให้เต็มที่ สุดท้ายผลที่ออกมา เราจะไม่เสียใจกับมันเลย และ fashion สวนสุนันทาก็ยินดีต้อนรับคนที่สนใจจะมาสมัครลงเรียนทุกคนครับ